เมนู

อรรถกถาปฐมสิกขาสูตร



ในสูตรที่ 9 มีความหมายง่ายทั้งนั้น. แม้ในสูตรนี้ พระผู้มีพระ
ภาคเจ้าตรัสสิกขา 3 ไว้ปนกันแล.
จบอรรถกถาปฐมสิกขาสูตรที่ 9

10. ทุติยสิกขาสูตร



ว่าด้วยไตรสิกขา



[530] (สูตรนี้ ตอนต้นเหมือนสูตรก่อน ต่างกันแต่ตอนแก้ อธิ-
ปัญญาสิกขา
คือสูตรก่อนแสดงอริยสัจเป็นอธิปัญญาสิกขา ส่วนสูตรนี้
แสดงพระอรหัต เป็นอธิปัญญาสิกขา และมีนิคมคาถาดังนี้)
อธิปัญญาสิกขาเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ กระทำ
ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ ในปัจจุบันนี้ นี้เรียกว่าอธิปัญญา-
สิกขา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลสิกขา 3
ผู้มีความเพียร มีกำลัง มีปัญญา มี
ความพินิจ มีสติ รักษาอันทรีย์ พึงประพฤติ
อธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา ก่อนอย่างใด
ภายหลังก็อย่างนั้น ภายหลังอย่างใด
ก่อนก็อย่างนั้น ต่ำอย่างใด สูงก็อย่างนั้น

สูงอย่างใด ต่ำก็อย่างนั้น กลางวันอย่าง
ใด กลางคืนก็อย่างนั้น กลางคืนอย่างใด
กลางวันก็อย่างนั้น ครอบงำทิศทั้งปวง
ด้วยสมาธิอันหาประมาณมิได้.
บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่าผู้นั้นดำเนิน
เสขปฏิปทา มีความประพฤติหมดจดดี
กล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้ตรัสรู้ เป็นปราชญ์
ปฏิบัติสำเร็จในโลก เพราะวิญญาณดับ
ความพ้นแห่งใจของผู้วิมุต เพราะสิ้น
ตัณหา ย่อมมีเหมือนความดับแห่งตะเกียง
(เพราะสิ้นเชื้อเพลิง) ฉะนั้น.

จบทุติยสิกขาสูตรที่ 10

อรรถกถาทุติยสิกขาสูตร



พึงทราบวินิจฉัยในทุติยสิกขาสูตรที่ 10 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า อาสวานํ ขยา นี้ มีอธิบายว่า อรหัตมรรค ชื่อว่า
อธิปัญญาสิกขา. ส่วนผลไม่ควรกล่าวว่า สิกขา เพราะเกิดขึ้นแก่บุคคล
ผู้ได้ศึกษาสิกขาแล้ว.
บทว่า ยถา ปุเร ตถา ปจฺฉา ความว่า ในตอนต้น ท่านศึกษา
ในสิกขา 3 อย่าง ภายหลังก็ศึกษาอย่างนั้นเหมือนกัน. แม้ในบทที่ 2 ก็มีนัย
นี้แล. บทว่า ยถา อโธ ตถา อุทฺธํ ความว่า ท่านพิจารณาเห็นกาย